Skip to main content
Home

CH Main menu

  • ข้อมูลผลิตภัณฑ์
    Clarityn® Tablets 24-Hour
    • คลาริทิน® ชนิดเม็ด
    • คลาริแคร์
      Claricare - คลาริแคร์ สเปรย์น้ำเกลือธรรมชาติ
  • ถาม-ตอบ
  • เอกสารกำกับยา
  • ความรู้เกี่ยวกับภูมิแพ้
    • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
    • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
    • โรคภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน
    • คลังข้อมูลเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
    • ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้
    • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
    • โรคภูมิแพ้ในเด็ก
    • โรคภูมิแพ้กับการตั้งครรภ์
    • โรคภูมิแพ้ในผู้สูงอายุ
  • รับมือกับภูมิแพ้
    • ภูมิแพ้ต้องรู้! ลดโรค ปลอดเชื้อ กับการล้างจมูกถูกวิธี
    • โรคภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
    • เทคนิครับมือโรคภูมิแพ้
    • ความแตกต่างของ ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และ Covid-19
    • ไรฝุ่นตัวร้าย ทำลายสุขภาพ
    • วิธีรับมือกับโรคภูมิแพ้ขณะเดินทาง
    • ยารักษาโรคภูมิแพ้ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน
    • เรื่องภูมิแพ้ที่ต้องรู้ก่อนการเดินทาง
    • ยารักษาโรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน
    • อาการภูมิแพ้ในเด็ก
    • อาการภูมิแพ้เมื่อตั้งครรภ์
    • ภูมิแพ้ผิวหนังและลมพิษ คือโรคเดียวกันหรือไม่?
    • อาการแพ้ขนสัตว์เลี้ยง
    • เทคนิคจัดบ้านให้ไร้ไรฝุ่น
    • เปลี่ยนบ้านให้ปลอดเชื้อรา
    • เมื่อแม่ท้องเป็นภูมิแพ้ ดูแลตัวเองอย่างไร?
    • แพ้ละอองเกสร แต่อยากทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง
Bayer Cross Logo
Share on:

ภูมิแพ้กับมลพิษ และการดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการ

ภูมิแพ้กับมลพิษ วิกฤติที่ยากจะหลีกเลี่ยง

ปัจจุบันนี้ สถานการณ์มลพิษทางอากาศกลายเป็นวิกฤติใหญ่ที่เราทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะในทุกวันที่เราออกเดินทาง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกบ้าน เราต่างต้องเผชิญกับมลพิษมากมายที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง, ควันไฟ, เกสรดอกไม้, ก๊าซอันตราย ตลอดจนฝุ่น PM 2.5 ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี ยิ่งสูดดมเข้าไป ยิ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และหากใครที่เป็นภูมิแพ้อยู่ด้วยแล้ว เมื่อเจอมลพิษทางอากาศเหล่านี้ ก็จะทำให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น

มลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบกับร่างกายอย่างไรบ้าง

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มลพิษทางอากาศในประเทศไทยกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ และในปี 2566 นี้ ก็ดูจะเป็นปีที่ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีความรุนแรงมากที่สุด จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศรวมแล้วกว่า 1,730,976 ราย* ซึ่งโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้ คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ

มาดูกันว่า ปัญหามลพิษทางอากาศนั้นส่งผลกระทบกับร่างกายอย่างไรบ้าง

ผลกระทบในระยะสั้น

ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ฝุ่นชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วทุกครั้งที่หายใจ เมื่อฝุ่นเข้าไปสะสมในร่างกาย จะทำให้โพรงจมูกอักเสบ หอบหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งเชื้อไข้หวัดใหญ่และแบคทีเรีย

ผลกระทบในระยะยาว

การสูดหายใจรับฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ยากต่อการรักษา เช่น ปอดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หัวใจ หลอดเลือด และสมอง

*ข้อมูลจาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 

ลักษณะอาการแพ้ฝุ่นควันและฝุ่น PM 2.5

อาการเบื้องต้นของผู้ที่แพ้ฝุ่น ได้แก่ อาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันและระคายเคืองตา มีน้ำตาไหล ไอ และอาจมีอาการหอบหืดกำเริบ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพยายามตอบสนองต่อฝุ่นควันหรือฝุ่น PM 2.5 ที่เราสูดเข้าไปนั่นเอง

วิธีรับมือกับอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ

รับประทานยาต้านฮิสตามีน

ยาต้านฮิสตามีน คือ ยาที่ใช้บรรเทาอาการแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง สารเคมี หรือเกสรดอกไม้ สามารถแบ่งยาต้านฮิสตามีนได้เป็น 2 ประเภท คือ ยากลุ่มที่ทำให้ง่วง และยากลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วง ซึ่งเป็นกลุ่มที่พัฒนาจากยากลุ่มแรก เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการที่ดีขึ้น ซึ่งการรับประทานยาทั้งสองกลุ่มนี้ จะต้องรับประทานอย่างระมัดระวังตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น และไม่ควรใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี

สวมหน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยที่จะช่วยป้องกันฝุ่นควันหรือฝุ่น PM 2.5 ได้ ควรเป็นหน้ากากอนามัยแบบ N95 ที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นมากกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป

ใช้เครื่องฟอกอากาศ

เครื่องฟอกอากาศ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกในอากาศ โดยการดูดอากาศผ่านตัวกรอง และดักจับฝุ่นละอองไว้ เพื่อช่วยให้อากาศมีความบริสุทธิ์มากขึ้น การใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยรับมือกับมลภาวะในอากาศ และช่วยบรรเทาอาการแพ้ฝุ่นควันหรือฝุ่น PM 2.5 ที่ทำให้คัดจมูกได้

หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้เป็นทุนเดิม ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้านให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน เพื่อไม่ให้อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กำเริบขึ้น

ถึงแม้ว่าปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย จะเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่เราสามารถหาวิธีรับมือและดูแลตัวเองได้ ด้วยการใช้ยาที่เหมาะสม โดยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอรับคำแนะนำในการใช้ยา พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และหากพบว่าอาการแพ้ฝุ่นควันหรือฝุ่น PM 2.5 มีอาการรุนแรงขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาโดยทันที

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. แพ้ฝุ่น กับวิธีรับมือท่ามกลางมลพิษทางอากาศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.pobpad.com/แพ้ฝุ่น-กับวิธีรับมือท่#:~:text=อาการแพ้ฝุ่นเป็นอย่างไร,มีอาการแพ้ตามมา
  2. ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.synphaet.co.th/ผลกระทบจากฝุ่นพิษ-pm-2-5/ 
Clarityn Packshot

คลาริทิน® ชนิดเม็ด

คลาริทิน ชนิดเม็ด สามารถ บรรเทาอาการหวัด และ ภูมิแพ้ได้ ใช้ได้ทั้งกลางวัน และ กลางคืน ชนิดไม่ทำให้ง่วง

เรียนรู้เพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

a smiling family of four, with picnic gear in hand, walking together on a  field with a scenic mountainscape backdrop

โรคภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

เรียนรู้เพิ่มเติม
young girl washing her face at the bathroom sink

เทคนิครับมือโรคภูมิแพ้

เรียนรู้เพิ่มเติม
Man lying in a field of grass with his puppy

ภูมิแพ้ผิวหนัง

เรียนรู้เพิ่มเติม
Clarityn

Footer Left

  • ถาม-ตอบ
  • ติดต่อเรา

Footer Center

  • ข้อมูลผลิตภัณฑ์
    • คลาริทิน® ชนิดเม็ด
    • คลาริแคร์

ลิขสิทธิ์© 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ การนำไปใช้ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์
เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น

อ่านคำเตือนในฉลากก่อนใช้ยา ใบอนุญาติโฆษณาเลขที่
ฆท. 1456/2563
L.TH.MKT.12.2020.1882

Footer Bottom

  • แผนผังเว็บไซต์
  • Bayer Consumer Health
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • Imprint